วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ประเพณีภาคใต้


ประเพณีชักพระ
ประเพณีไทยภาคใต้

ประเพณีชักพระ

ประเพณีชักพระหรือลากพระเป็นประเพณีของชาวภาคใต้ โดยจะปฏิบัติกันในช่วงออกพรรษา (วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑) ซึ่งมีความเชื่อว่า ครั้งสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้เสร็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพระมารดา พอถึงช่วงออกพรรษา พระพุทธเจ้าจะเสด็จกลับยังโลกมนุษย์ ทำให้ชาวบ้านมีความปราบปลื้มมาก จึงอันเชิญพระพุทธองค์ขึ้นประทับบนบุษบกและแห่ไปยังที่ประทับของพระพุทธองค์ ครั้นเลยสมัยพุทธกาลชาวบ้านจึงนำพระพุทธรูปมาแห่สมมุติแทนพระพุทธองค์ ประเพณีชักพระหรือลากพระมีผู้สันนิษฐานว่าเกิดขึ้นในประเทศอินเดียตามลัทธิของศาสนาพราหมณ์ที่นิยมนำเทวรูปออกแห่ในโอกาสต่างๆ ต่อมาชาวพุทธได้นำมาดัดแปลงให้ตรงกับศาสนาพุทธ ประเพณีชักพระหรือลากพระได้ถ่ายทอดมาถึงประเทศไทยภาคใต้ได้รับและนำไปปฏิบัติจนกลายเป็นประเพณีสืบมาจนถึงปัจจุบัน โดยชาวใต้มีความเชื่อว่าการลากพระจะทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลหรือเป็นการขอฝน เพราะผู้ประกอบพิธีส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม “การชักพระหรือลากพระของชาวใต้มี ๒ ประเภท คือ ลากพระทางบกกับลากพระทางน้ำ” การลากพระทางบก คือ การอันเชิญพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรขึ้นประดิษฐานบนนมพระ

ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ
ประเพณีไทยภาคใต้

ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ

ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ คือ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นโอบฐานเจดีย์พระบรมธาตุเมืองนคร จังหวัดนครศรีธรรมราช สมัยโบราณเรียกประเพณีนี้ว่า “ประเพณีแห่พระบฏขึ้นธาตุ” (ผ้าพระบฏ คือ ผ้าผืนยาวและใหญ่และมีการเขียนรูปพุทธประวัติลงบนฝืนผ้านั้น) มูลเหตุของการเกิดประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ ตามตำนานได้กล่าวไว้ว่า เมื่อราวปี พ.ศ. ๑๗๗๓ ได้มีชาวพุทธจากเมืองอินทปัตแห่งกัมพูชากลุ่มหนึ่งกำลังเดินทางไปเกาะลังกาเพื่อนำผ้าพระบฏไปบูชาพระเขี้ยวแก้ว แต่เกิดเหตุคลื่นซัดเรือแตกทำให้ผ้าพระบฏและชาวพุทธประมาณสิบคนลอยไปติดริมฝั่งที่อำเภอปากพนัง ครั้นพระเจ้าศรีธรรมโศกราช ผู้ปกครองเมืองนครศรีธรรมราชทราบข่าวจึงได้สั่งให้นำผ้าพระบฏนั้นไปห่มพระบรมธาตุเจดีย์ เนื่องในโอกาสสมโภชพระบรมธาตุและถือเป็นประเพณีแห่พระบฏขึ้นธาตุที่ผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราชทุกคนจะต้องปฏิบัติในทุกสมัย “ตามประวัติการแห่ผ้าขึ้นธาตุจะทำในโอกาสสมโภชพระบรมธาตุประจำปี แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่ากระทำในวันใด ครั้นถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุมีการปฏิบัติ ๒ วัน คือ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น