ประเพณีไทยภาคใต้
ประเพณีแข่งเรือหน้าพระที่นั่งและงานของดีเมืองนรา จังหวัดนราธิวาส
ประเพณีแข่งเรือหน้าพระที่นั่ง และงานของดีเมืองนรา จังหวัดนราธิวาส “สีสันเรือกอและอันคงเอกลักษณ์ จากวิถีชีวิตชาวประมงนำสู่ประเพณีท้องถิ่น เหล่าฝีพายนับสิบประจำในลำเรือ จากนั้นจึงจ้ำพายสู่หลักชัย ใครเร็วกว่าคือผู้ชนะ เสียงปรบมือโห่ร้องส่งกำลังใจจากกองเชียร์ดังรอบ ภาพบรรยากาศประเพณีแข่งเรือหน้าพระที่นั่ง และงานของดีเมืองนรา จึงเต็มไปด้วยสีสันเช่นความงามของลำเรือ” เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จแปรพระราชฐานมาประทับแรม ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ ทรงเสด็จออกเยี่ยมราษฎร เพื่อรับฟังปัญหาความทุกข์ร้อนของประชาชน เป็นที่มาของโครงการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ช่วยให้ประชาชนได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ชาวนราธิวาสจึงได้นำเอาการแข่งขันเรือกอและประเพณีไทยอันเก่าแก่ถวายทอดพระเนตรเพื่อเทิดพระเกียรติในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้น นำไปสู่การปฏิบัติตามประเพณีซึ่งเริ่มจางหายไปให้กลับมาดำรงอยู่อีกครั้ง ในฤดูน้ำหลาก วิถีชีวิตของชาวประมงยังคงดำเนิน ขณะที่อีกด้านถือเป็นโอกาสประชันความแข็งแกร่งของเหล่าฝีพายจากทั่วหมู่บ้าน
ประเพณีแข่งขันตีโพน จังหวัดพัทลุง
ประเพณีแข่งขันตีโพน จังหวัดพัทลุง “หลังประดิดประดอยโพนพร้อมสำหรับการประชันแล้ว เสียงโพนจึงดังกึกก้อง สร้างความครึกครื้น รื่นเริง ในงานประเพณีแข่งขันตีโพน เครื่องดนตรีพื้นบ้านซึ่งอยู่คู่กับวิถีชีวิตของคนเมืองลุง ด้วยเสียงอันทุ้มแหลมกังวาน เกิดเป็นคำกล่าวที่ว่า จะร้อยพันแม้นหมื่นเสียงตะโกน ฤาจะสู้เสียงแข่งโพนที่เมืองลุง” โพน ชื่อเรียกเครื่องดนตรีพื้นบ้านของชาวปักษ์ใต้ เกี่ยวพันกับวิถีชีวิตของคนในอดีต ใช้บอกเหตุร้ายเวลากลางคืน บ้างใช้สำหรับเรียกประชุมหมู่บ้าน เป็นสัญญาณเมื่อถึงเวลาฉันอาหาร รวมทั้งใช้เป็นจังหวะในงานประเพณีลากพระ พัฒนาสู่ประเพณีการแข่งขันตีโพยด้วยในวันงานลากพระ วัดในละแวกเดียวกันต่างจัดงานกันยิ่งใหญ่ เสียงโพนจึงดังกึกก้องจนไม่สามารถแยกได้ว่าเสียงนั้นดังมาจากวัดไหน นำสู่การแข่งขันประชันเสียงโพน โดยเฉพาะในจังหวัดพัทลุงจะมีการจัดงานขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ในทุกๆ ปี ประเพณีแข่งขันตีโพนจะเริ่มตั้งแต่ช่วงปลายเดือนสิบจนถึงวันแรมหนึ่งค่ำเดือนสิบเอ็ด จัดควบคู่ไปกับประเพณีลากพระในวันออกพรรษา ก่อนถึงวันแข่งขัน เหล่านักตีโพนต่างขะมักเขม้นกับการประดิษฐ์เพื่อให้ได้โพนที่เสียงดีที่สุด
การแข่งขันว่าวประเพณี จังหวัดสตูล
“ฤดูแห่งลมว่าวพัดมาถึงอีกครั้ง ท้องฟ้าจึงถูกประดับประดาด้วยว่าวนานาชาติ หนึ่งในนั้นคือว่าวควาย ด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านสู่เอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นของว่าวเมืองสตูล ประชันความงามล่องเวหาไปพร้อมๆ กันกับว่าวนานาชาติ เพียงเงยหน้ามองท้องฟ้าจนสุดสายป่าน คุณก็ไม่อาจละสายตา และเพลิดเพลินไปกับงานแข่งขันว่าวประเพณี ณ จังหวัดสตูล” ต้นข้าวขณะออกรวงเรียว ผ่านพ้นช่วงฝนตกหนักสู้ฤดูหนาวต้นปี รวงข้างเอนกระทบกันเสียงกระซิบของท้องทุ่ง ตามด้วยสายลมที่พัดผ่านมาเป็นสัญญาณเปลี่ยนฤดูกาล ขณะรอเก็บเกี่ยวผลผลิต เหล่านักประดิษฐ์ต่างนำว่าวตัวเก่งมาล่องลม ในช่วงเวลาดังกล่าวของทุกปีท้องฟ้าเมืองสตูลจึงเต็มไปด้วยว่าวหลากชนิดที่บรรดาเด็กๆ คนหนุ่มสาว ต่างออกลีลาวาดลวดลายประชันฝีมือในการบังคับว่าวอย่างรื่นเริง การเรียนรู้อยู่ร่วมกันตามวิถีของธรรมชาติ ทำให้การนำว่าวมาใช้ประโยชน์ในการสร้างความบันเทิงพัฒนารูปแบบเรื่อยมา ทั้งในประเทศไทยรวมทั้งว่าวจากนานาชาติ จนเริ่มมีการแข่งขัน คนต่างชาติ ต่างภาษา ต่างภูมิประเทศ จึงมีโอกาสพบเห็นว่าวรูปทรงแปลกและแตกต่างกัน นั่นรวมถึงว่าวควายที่เป็นเสมือนสัญลักษณ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นของสตูล
ประเพณีชักพระจังหวัดสุราษฎร์ธานี
“ด้วยจิตอันศรัทธายิ่งต่องานประเพณี เมื่อถึงวันชักพระ ชาวบ้านต่างร่วมกันทำบุญตักบาตร อันเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานบนบุษบกบนเรือพระ รถพระ ซึ่งตกแต่งอย่างงดงาม จากนั้นจึงออกแรงชักพระ เรือพระ ออกจากวัด สมโภชไปตามถนน ลำคลอง ผู้คนหนาตาด้วยจิตศรัทธาเป็นหนึ่งเดียวกัน” ตระเตรียม สลักเสลา ประดับประดิษฐ์ รถ เรือพนมพระ งดงามเมลืองมลัง ด้วยมวลหมู่ดอกไม้ ด้วยจิต ด้วยศรัทธา สมความยิ่งใหญ่ในประเพณีอันนับถือสู่สิริมงคล นับร้อย นับพัน ร่วมแรง ร่วมใจ แข็งขัน สามัคคี คนหนุ่มสาว ผู้เฒ่า
ประเพณีทอดกฐิน
ประเพณีทอดกฐินจะทำในช่วงวันแรม ๑ ค่ำ เดือน เกี๋ยงเหนือหรือเดือนตุลาคม ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนยี่เหนือ หรือเดือนพฤศจิกายน สมัยโบราณชาวล้านนาไม่นิยมทอดกฐินเนื่องจากว่าจะต้องใช้ปัจจัย (เงิน) ค่อนข้างมาก ผู้ที่จะถวายกฐินได้จะต้องมีฐานะดีและมีความตั้งใจจริง
ประเพณีตักบาตรธูปเทียน
ประเพณีตักบาตรธูปเทียนคือการถวายธูปเทียนแด่พระสงฆ์ ซึ่งประเพณีตักบาตรธูปเทียนถือเป็นส่วนหนึ่งของการถวายสังฆทานในวันเข้าพรรษา ช่วงวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ซึ่งการตักบาตรธูปเทียนจะมีขึ้นที่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราชเพียงแห่งเดียว แต่ปรากฏว่าเครื่องสังฆทานที่ชาวบ้านนำมาถวายนั้นมากเกินความจำเป็น จึงได้อาราธนาพระสงฆ์จากวัดต่างๆ มารับเครื่องสังฆทานนั้น ประเพณีตักบาตรธูปเทียนมีพิธีกรรมโดย นิมนต์พระสงฆ์จากวัดอื่นๆ ยืนเรียงแถวที่หน้าวิหาร และชาวบ้านจะนำเครื่องสังฆทานพร้อมทั้งดอกไม้ธูปเทียนที่เตรียมมาใส่ในย่ามพระ เมื่อเสร็จแล้วชาวบ้านจะทำการจุดเปรียง (การจุดเปรียงคือ การนำน้ำมันมะพร้าวใส่ในเปลือกหอยพร้อมด้วยด้ายดิบและจุดไฟที่ด้ายเพื่อให้ไฟสว่างไสวไปทั่วทั้งวัด) ตามหน้าพระพุทธรูปและลานเจดีย์ภายในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร “แต่ปัจจุบันประเพณีตักบาตรธูปเทียนได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมบ้าง เช่น แต่เดิมชาวบ้านจะเตรียมดอกไม้ธูปเทียนมาเอง แต่ปัจจุบันดอกไม้ธูปเทียนจะมีวางขายทั่วไป หรือเมื่อก่อนพระสงฆ์จะเข้าแถวรับบาตรแต่เฉพาะบริเวณหน้าวิหาร แต่ในปัจจุบันได้ขยายพื้นที่ไปถึงหน้าวัด เมื่อครั้งอดีตหลังจากใส่บาตรเรียบร้อยแล้วจะมีการจุดเปรียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนมาจุดเทียนไขแทน เพราะการจุดเปรียงทำให้เกิดไปไหม้อยู่บ่อยครั้ง” เรามาอนุรักษณ์ประเพณีไทยไม่ให้สูญหายกันนะค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น