ประเพณีนบพระเล่นเพลง
ประเพณีนบพระ เล่นเพลง ในแผ่นดินพระเจ้าลิไท นบพระ เล่นเพลงในแผ่นดินพระเจ้าลิไท ริ้วขบวนยาตราสู่วัดพระบรมธาตุ นครชุม น้อมสักการะพระบรมสารีริกธาตุ สืบทอดประเพณีเก่าแก่นับแต่ครั้งสมัยสุโขทัย งานมหรสพ การละเล่น โลดแล่นอยู่ท่ามกลางร่องรอยแห่งความเจริญรุ่งเรืองของอารยธรรมครั้งอดีตที่ชวนหลงใหล ครั้งสมัยพญาลิไท พระองค์ได้ทรงอันเชิญพระบรมสาริกธาตุจากลังกามาบรรจุไว้ที่พระเจดีย์ ณ วัดพระบรมธาตุ ซึ่งเจ้าผู้ครองนครต้องเดินทางไปนมัสการพระธาตุเป็นประจำทุกปี กระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2526 จังหวัดกำแพงเพชรได้จัดงานประเพณีนบพระเล่นเพลงขึ้น เพื่อถ่ายทอดภาพความงดงามของวัฒนธรรมประเพณีที่สูญหาย นำกลับมาปฏิบัติและร่วมสร้างความภูมิใจของท้องถิ่นต่อไป กระบวนพยุหยาตราสถลมารคของพระมหากษัตริย์ถูกจำลองขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ เคลื่อนตัวมุ่งหน้าสู้การนบพระ และประกอบพิธีเวียนเทียนที่พระบรมธาตุเจดีย์ ท่ามกลางเสียงอึกทึกคึกโครมของการละเล่น การเล่นเพลง ด้วยภาพบรรยากาศของการจำลองหมู่บ้านวัฒนธรรม ถ่ายทอดรูปแบบการดำเนินชีวิตดั้งเดิม
ประเพณีทานข้าวหลามและข้าวจี่
ประเพณีทานข้าวหลามและข้าวจี่เป็นประเพณีที่กระทำหลังจากที่ชาวนาได้เสร็จ สิ้นภารกิจจากไร่นาแล้ว หรือในช่วงเดือน ๔ เหนือ โดยนำข้าวใหม่ที่ได้จากการเก็บเกี่ยวมาทำข้าวหลาม ข้าวจี่ (ข้าวเหนียวปิ้ง) ข้าวเม่า ข้าวต้ม เป็นต้น และนำไปถวายพระสงฆ์ เรียกว่า “พิธีทานเข้าใหม่หรือทานข้าวใหม่” อีกทั้งยังถือโอกาสทำทานขันข้าวไปพร้อมๆ กันเลย การทำทานขันข้าวคือ การทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว เมื่อถึงวันทำพิธีชาวบ้านก็จะนำข้าวหลาม ข้าวจี่ อาหารคาวหวาน เมี่ยง บุหรี่ ข้าวตอกดอกไม้ไปถวายพระสงฆ์ที่วัด
ประเพณีทอดกฐิน
ประเพณีทอดกฐินจะทำในช่วงวันแรม ๑ ค่ำ เดือน เกี๋ยงเหนือหรือเดือนตุลาคม ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนยี่เหนือ หรือเดือนพฤศจิกายน สมัยโบราณชาวล้านนาไม่นิยมทอดกฐินเนื่องจากว่าจะต้องใช้ปัจจัย (เงิน) ค่อนข้างมาก ผู้ที่จะถวายกฐินได้จะต้องมีฐานะดีและมีความตั้งใจจริง

ประเพณีแข่งเรือจังหวัดน่าน
จังหวัดน่านเดิมชื่อจังหวัดนันทบุรีหรือวรนคร อยู่ห่างจากกรุงเทพประมาณ ๖๖๘ กิโลเมมตร เป็นจังหวัดเล็กๆ ตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทยเป็นเมืองชายแดนแห่งล้านนาตะวันออก มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างสงบสุข ป่าไม้อุดมสมบูรณ์ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม แม่น้ำที่เปรียบเสมือนเส้นเลือดที่ล่อเลี้ยงทุกชีวิตของชาวน่านให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้โดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง คือแม่น้ำน่าน ซึ่งต้นกำเนิดจากดอยขุนน้ำน่าน อำเภอบ่อเกลือ เสน่ห์ของจังหวัดน่าน มีภูมิประเทศที่สวยงาม งานประเพณีขึ้นชื่อลือชาโด่งดังทั่วภาคเหนือตอนบน คือประเพณีแข่งเรือในลำแม่น้ำน่าน ซึ้งสืบทอดต่อกันมา จัดขึ้นในช่วง ตุลาคม-พฤจิกายน ของทุกปี การแข่งขันเรือนอกจากแข่งขันเพื่อความสนุก ออกกำลังกาย ยังทำให้แต่ละหมูบ้านมีความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เมื่อถึงเทศกาลแข่งเรือ ชาวบ้านแต่ละหมูบ้านที่มีเรือเข้าแข่งขันจะร่วมมือร่วมใจกัน พ่อบ้าน หนุ่มๆ เป็นฝีฟาย (ลูกเรือ)
ประเพณีสงกรานต์ล้านนา
ประเพณีสงกรานต์ ชาวล้านนาจะเรียกว่า “ปเวณีปีใหม่ หรือ ปาเวณีปีใหม่” อ่านว่า ป๋า-เว-นี-ปี๋-ใหม่ เทศกาลสงกรานต์ตามปฏิทินโหราศาสตร์ของชาวล้านนาเดิมนั้น จะถือเอาวันที่พระอาทิตย์เคลื่อนจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษเป็นวันมหาสงกรานต์ หรือวันสังกรานต์ล่อง (อ่านว่า สังขานล่อง) ซึ่งจะไม่ตรงกับวันที่ ๑๓ เมษายน ตามประกาศของทางราชการ แต่ปัจจุบันจะยึดตามประกาศของทางราชการซึ่งมักจะตรงกับเดือน ๗ เหนือ หรือเดือนเมษายน ประเพณีสงกรานต์จะจัดขึ้นอย่างน้อย ๓-๕ วัน คือ “วันแรก วันสงกรานต์ล่อง เป็นวันที่พระอาทิตย์โคจรไปสุดราศีมีนและย่างเข้าสู่ราศีเมษ ชาวล้านนามีความเชื่อว่า ในตอนเช้ามืดจะมีปู่สังกรานต์หรือย่าสังกรานต์สวมใส่เสื้อผ้าสีแดง ล่องแพไปตามลำน้ำ
ประเพณีปอยลูกแก้ว
ประเพณีปอยลูกแก้วหรือปอยน้อย คือ ประเพณีบวชเณรของเด็กในภาคเหนือ ซึ่งจะกระทำในช่วงเดือน ๕-๘ เหนือ คือประมาณเดือน กุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม “เมื่อกำหนดวันบวชที่แน่นอนแล้ว พ่อแม่ก็จะจัดหาเครื่องอัฐบริขาร ส่วนผู่ที่จะบวชก็จะไปเป็นลูกศิษย์วัด หรือภาษาพื้นเมืองเรียกว่า “ขะโยมวัด” และระหว่างที่เป็นขะโยมวัดนั้นจะต้องฝึกท่องคำขอบวชเป็นภาษาพื้นเมืองให้ได้” ก่อนถึงวันงานจะมีการ “แอ่วผ้าอุ้ม” คือ การนำเครื่องใช้ของสงฆ์ใส่พานและมีคนอุ้ม แล้วแห่ไปรอบๆ หมู่บ้าน เพื่อเป็นการประกาศ ให้ชาวบ้านได้รับรู้ว่าจะมีงานบุญเกิดขึ้น “พอถึงวันงานทุกคนจะไปพร้อมกันที่วัดผู้ที่จะบวชจะแต่งตัวเหมือนเจ้าชายสิทธัตถะก่อนออกบวช ใส่เครื่องทรงที่สวยงาม เรียกว่า “ลูกแก้ว” จากนั้นลูกแก้วจะขี่คอชายหนุ่มที่แข็งแรง เพื่อแห่ลูกแก้วไปรอบๆ หมู่บ้าน แต่อาจใช้ม้าหรือช้างเป็นยานพาหนะก็ได้
ประเพณีทานหลัวผิงไฟ
ประเพณีทานหลัวผิงไฟพระเจ้า คือ ประเพณีการถวายฟืนแก่พระสงฆ์เพื่อใช้จุดไฟในช่วงฤดูหนาว จะกระทำในเดือน ๔ เหนือ หรือตรงกับเดือนมกราคม พิธีกรรมของประเพณีนี้จะเริ่มโดยชาวบ้านจะช่วยกันหาไม้ฟืน จากนั้นก็ถากเปลือกไม้ออกและตัดไม้ออกเป็นท่อนๆ นำท่อนไม้ที่ตัดไว้ มามัดรวมกัน แล้วก็นำข้าวตอกดอกไม้ สำรับอาหารคาวหวาน และฟืน ๑ มัด นำไปถวายพระสงฆ์ และพระสงฆ์จะนำฟืนไปถวายพระพุทธรูป องค์ประธาน ในวันรุ่งขึ้นประมาณตี ๔-๕ เจ้าอาวาสจะจุดไฟ โดยใช้ฟืนที่ชาวบ้านนำมาถวาย และตีฆ้องบอกให้ชาวบ้านรับรู้เพื่อร่วมอนุโมทนาบุญ เป็นประเพณีไทยที่เราควรอนุรักษณ์ไว้
ประเพณีอู้สาว
คำว่า “อู้” เป็นภาษาไทยภาคเหนือแปลว่า “พุดกัน คุยกัน สนทนากัน สนทนากัน” ดังนั้น “อู้สาว” ก็คือ พูดกับสาว คุยกับสาว หรือแอ่วสาวการอู้สาวเป็นการพดคุยกันเป็นทำนองหรือเป็นกวีโวหาร การอู้สาวหรือแอ้วสาวจะทำตอนกลางคืนโดยชายหนุ่ม (หรือชายไม่หนุ่มก็ได้) จะไปไหนมาไหนเป็นกลุ่มๆ และพูดคุยกันอย่างสนุกสนานเพื่อไป “เซาะอู้” (คือการไปคุยกับสาวๆ ตอน กลางคืนช่วงว่างงาน) ชายหนุ่ม หรือทางเหนือเรียกว่า “บ่าว” แต่ถ้าเป็นหนุ่มน้อย (หมายถึง ผู้ชายที่มีความเป็นหนุ่มเหลือน้อยแล้ว) หรือผู้ชายที่มีอายุมากหน่อยจะเรียกว่า “บ่าวเจื้อ” โดยบ่าวเหล่านั้นจะอู้กับสาวโสดเท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น