ประเพณีไทยภาคอีสาน
ผีตาโขนประเพณีไทย จังหวัดเลย ประเพณีไทยที่น่าสนใจ
ประวัติความเป็นมาของผีตาโขน ประเพณีผีตาโขน เป็นประเพณีที่จัดขึ้นในอำเภอด่านซ้าย ของจังหวัดเลย ซึ่งมีพื้นที่อยู่ทางภาคอีสานของไทย ไม่มีข้อมูลชัดแจ้งว่ามีมาตั้งแต่เมื่อใด แต่มีข้อสันนิษฐว่าน่าจะมีตั้งแต่มี บุญหลวง คือบุญพระเวชสันดรและบุญบั้งไฟรวมกัน ซึ่งเป็นเวลานาน หลายร้อยปีมาแล้ว
ประเพณีไหลเรือไฟกับความเชื่อของภาคอีสาน
ประวัติความเป็นมาของประเพณีไหลเรือไฟ ประเพณีไหลเรือไฟ เป็นประเพณีที่จัดขึ้นทั่วไปในหลายจังหวัดทางภาคอีสานที่อยู่ติดกับลำน้ำ โดยมีความเชื่อ ความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ที่สืบกันมาหลายชั่วอายุคน แต่การเริ่มต้นครั้งแรกเมื่อใดนั้น ไม่มีหลักฐาน
ประเพณีแห่นางแมว ประวัติความเป็นมา ประเพณีแห่นางแมว
เมื่อให้นึกถึงประเพณีที่มีสัตว์เข้ามาเกี่ยวข้อง มีมาช้านานและเป็นที่รู้จักของคนไทยทั่วประเทศคงเป็นประเพณีอื่นไปไม่ได้นอกจากประเพณีแห่นางแมว ที่นิยมจัดขึ้นในปีที่ฝนไม่ตกต้องตามฤดูการหรือฝนแล้ง เพื่ออ้อนวอนขอให้ฝนตกลงมาสร้างความชุ่มชื่นแก่แผ่นดินและพื้นที่ทำสวนทำไร่ของทุกคน ประวัติความเป็นมาและความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีแห่นางแมว
ประเพณีแห่เทียนพรรษาที่มา ประวัติ กิจกรรม ที่ต้องอ่าน!!
ประวัติความเป็นมาของการแห่เทียนพรรษา ในสมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิ์ประสงค์ ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการเมืองอุบล ครั้งหนึ่งที่เมืองอุบลมีการแห่บั้งไฟที่วัดกลาง มีประชาชนไปดูเป็นจำนวนมาก ครั้งนั้นในขบวนแห่บั้งไปได้เกิดมีการทะเลาะวิวาทและถึงแก่ความตาย เสด็จในกรมได้พิจารณาถึงความสูญเสียอันยิ่งใหญ่ จึงสั่งการให้เลิกแห่บั้งไฟและเปลี่ยนเป็นการแห่เทียนแทน แต่การแห่เทียนพรรษาในสมัยดั้งเดิมก็ไม่ได้จัดงานยิ่งใหญ่เช่นปัจจุบัน เป็นเพียงการที่ชาวบ้านร่วมกันบริจาคเทียน แล้วนำมาติดกับไม้ไผ่และนำต้นเทียนไปผูกติดกับปี๊บน้ำมันก๊าดอีกที ฐานของต้นเทียนทำจากไม้ที่ตีเป็นแผ่นเรียบ หรือทำสูงเป็นชั้นๆ ติดกระดาษแล้วนำไปถวายวัด ส่วนพาหนะที่นิยมใช้ในสมัยนั้นก็จะเป็นเกวียน หรือล้อเลื่อนที่ใช้วัวหรือคนลากจูง แต่ในขบวนแห่เทียนของชาวบ้านก็จะมีฆ้อง กลอง กรับ และการฟ้อนรำที่สนุกสนาน ต่อมาการทำต้นเทียนได้พัฒนาขึ้น เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2480 คือเป็นการหล่อเทียนออกจากแม่พิมพ์ที่มีลวดลายง่ายๆ หลายแบบ เช่น ตาอ้อย บัวคว่ำ กระจังก้ามปู
ประเพณีบุญเบิกฟ้า จังหวัดมหาสารคาม
ประเพณีบุญเบิกฟ้า จังหวัดมหาสารคาม “ประเพณีบุญเบิกฟ้า ช่วงวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต ชาวนาอีสานตอบแทนผืนแผ่นดินทำกิน โดยการใช้ปุ๋ยคอกทำจากมูลสัตว์กลับคืนสู่ผืนดินให้มีความอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง อีกทั้งสายฝนแรกของปีก็กำลังจะมา ฟ้ากำลังจะร้อง เมื่อมาทิศใดก็จะทำนายความอุดมสมบูรณ์ในปีนั้นๆ ไปตามความเชื่อดั้งเดิม” ชาวนาใช้ประโยชน์จากพื้นดินมายาวนาน ตลอดระยะเวลาการเพาะปลูก ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นดินได้สูญสลายไป เมื่อถึงช่วงเก็บเกี่ยว เมล็ดข้าวที่เติบโตจนได้สีทองล้วนเป็นสิ่งที่ธรรมชาติได้มอบให้ ซึ่งชาวนาต่างรู้และสำนึกในบุญคุณของผืนแผ่นดิน ด้วยการคืนธาตุ คืนอาหารเป็นการตอบแทน อาการที่ว่าก็คือปุ๋ยนั่นเอง เดือน ๓ เดือนมหัศจรรย์ของชาวอีสาน นอกจากเป็นเดือนที่อุดมสมบูรณ์แล้วยังเป็นเดือนเริ่มต้นฤดูฝน ซึ่งจะมีเสียงฟ้าร้อง
ประเพณีบุญบั้งไฟ จังหวัดยโสธร
ประเพณีบุญบั้งไฟ จังหวัดยโสธร “นิทานพื้นบ้านเล่าสืบต่อกันมา ผาแดงนางไอ่ พระยาคันคาก ล้วนกล่าวถึงการจุดบั้งไฟถวายแด่พญาแถน เพื่อเป็นการขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล หลาบสิบปีได้สืบทอดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ความสวยงามของการตกแต่งขบวนที่ยิ่งใหญ่ ควันสีขาวพุ่งทะยานไปตามบั้งไฟแสนที่ขึ้นสู่ท้องฟ้า ตามมาด้วยเสียงดังสนั่น และเสียงลุ้นของผู้คน สุดเร้าได้ทุกครั้งไป” เมื่อถึงเดือน ๖ ชาวอีสานจะมีการจัดงานประเพณีที่สำคัญ หนึ่งในฮีตสิบสอง จากความเชื่อในการบูชาพญาแถนให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล พร้อมเข้าสู่การทำนาครั้งใหม่ และกล่าวกันว่าหากหมู่บ้านใด ชุมชนไหน มิได้จัดงานประเพณีนี้ขึ้นในปีนั้นๆ ฝนก็จะไม่ตก พื้นดินก็จะแห้งแล้งไม่สามารถทำการเพาะปลูกใดๆ ได้ เมื่อถึงวันงาน ก่อนการประกวดประชันบั้งไฟประเภทต่างๆ จะมีขบวนแห่บั้งไฟตกแต่งด้วยสีสันที่สวยงาม ตามมาด้วยเสียงดนตรีบรรเลงให้จังหวะในการเซิ้งบั้งไฟ

ประเพณีบุญผะเหวด จังหวัดร้อยเอ็ด
ประเพณีบุญผะเหวด จังหวัดร้อยเอ็ด “ประเพณีบุญผะเหวด หรืองานบุญเดือนสี่ ภาพจำลองเรื่องราวมหาชาติชาดก ครั้งที่พระเวสสันดรกลับเข้าเมือง ที่ยิ่งใหญ่ตระการตา ของขบวนแห่ทั้ง ๑๓ กัณฑ์ ฟังเทศน์มหาชาติ แห่กัณฑ์จอบ กัณฑ์หลอน แห่ข้าวพันก้อน เทศน์สังกาด บุญใหญ่ที่สร้างความสุขสนุกสนานแก่พุทธศาสนิกชนโดยทั่วกัน” จังหวัดร้อยเอ็ด ได้เริ่มฟื้นฟูงานประเพณีบุญผะเหวดขึ้นมาในปี พ.ศ.๒๕๓๔ ซึ่งได้มีการกำหนดจัดงานในวันเสาร์และวันอาทิตย์แรกของเดือนมีนาคม ณ บึงผลาญชัย และสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ เริ่มตันวันศุกร์ด้วยการแห่พระอุปคุต วันเสาร์ ขบวนแห่ ๑๓ กัณฑ์ และวันอาทิตย์
เทศกาลดอกลำดวน สืบสานประเพณี สี่เผ่าไท จังหวัดศรีสะเกษ
“ร่วมเรียนรู้ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมอีสานใต้ ประเพณีสี่เผ่าไทศรีสะเกษและเทศกาลดอกลำดวน สัมผัสเอกลักษณ์ของแต่ละชนเผ่า ส่วย ลาว เยอ และเขมร วิถีชีวิต ความเชื่อ การแต่งกาย ภายใต้ทิวไม้ที่สะพรั่งด้วยดอกลำดวนบานเต็มสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์” จากความร่วมมือของจังหวัดศรีสะเกษ มูลนิธิสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ ได้ทำให้งานเทศกาลดอกลำดวนบาน สืบสานประเพณีสี่เผ่าไท เป็นรูปเป็นร่างขึ้น โดยใช้สถานที่บริเวณสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ในบริเวณวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ เป็นสถานที่จัดงาน ภายใต้ร่มเงาของต้นไม้ใหญ่ บรรยากาศภายในสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ศรีสะเกษ ต้นไม้ใหญ่ปกคลุมสร้างความร่มรื่น และเย็นใจให้แก่ผู้เข้าร่วมงาน ท่ามกลางใบไม้เขียวประดับด้วยดอกลำดวนหน้าตาคล้ายกับขนมกลีบลำดวนที่เราคุ้นเคย ยามเย็นสายลมอ่อนพัดพากลิ่นดอกลำดวนหอมแบบไทยๆ ชวนนึกย้อนสู่วันวาน นั่งชมการแสดงทางวัฒนธรรม วิถีชีวิตของชนเผ่าไทศรีสะเกษ
งานประเพณีตีช้างน้ำนอง มุกดาหาร
สายน้ำโขงสีขุ่นที่ไหลเรื่อย ช่วงเริ่มต้นแห่งฤดูฝน ระดับสูงขึ้นใกล้เต็มตะลิ่ง ใกล้เวลาที่ชาวบ้านสองฝั่งโขงจะมาร่วมใจ ลงแรก ช่วยลุ้น ผลัดกันส่งเสียงร้องให้กำลังใจเหล่าฝีมืพายจากที่ต่างๆ ที่มาพร้อมกันเพื่อช่วยชิงชัยจ้าวแห่งสายน้ำ ณ เมืองมุกดาหาร ซึ้งมีเอกลักษณ์ของพิธีการ ไม่เหมือนใครจนกลายเป็นประเพณีของไทยที่ปฎิบัติสืบต่อกันมาทุกครั้ง ก่อนที่จะเริ่มการแข่งขัน คือ ประเพณีการตีช้างน้ำนอง ในการแข่งขันประเพณีออกพรรษาไทย-ลาว (มุกดาหาร-สะหวั่นนะเขต) เริ่มต้นเอาฤกษ์เอาชัย ขบวนเรือที่เข้าแข่งขันต่างมารวมตัวพร้อมกัน ณ ท่าน้ำ ขบวนเรือพายเรือล่องตามลำน้ำโขง ทุกฝีพายต่างโห่ร้อง ตกลอง เคาะเกราะ เกิดเป็นจังหวะที่ขึงขัง เพื่อประกอบพิธีสักการะพระแม่คงคา เทวดา พญานาค บวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองทั้งทางบกและทางน้ำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น