ประเพณีไทยภาคกลาง
ประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ จังหวัดอุทัยธานี
ประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ จังหวัดอุทัยธานี “เทโวโรหณะ วิถีแห่งศรัทธาต่อศรัทธา” “ขึ้นแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงกำหนดเวียนมาบรรจบ ณ วัดสังกัตรัตนคีรี ประเพณีตักบาตรเทโว พระสงฆ์หลายร้อยรูปเดินลงจากยอดเขา ผ่านบันได ๔๔๙ ขั้นสู่เบื้องล่าง ที่ยังเนืองแน่นไปด้วยพุทธศาสนิกชนเรือนหมื่น ที่ยังคงยึดมั่นในวิถีปฏิบัติดั้งเดิม อันสะท้อนภาพแรงศรัทธาที่สุกสว่าง ภายในจิตใจของทุกคน” อุทัยธานี ชุมชนลุ่มแม่น้ำสะแกกรัง เมืองเล็กๆ ที่อบอุ่น และมากด้วยไมตรีจิต ที่พร้อมมอบให้แก่คนต่างถิ่น และรอให้เข้ามาสัมผัส วัฒนธรรม
ประเพณีการแห่ผ้าห่มองค์พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม
ประเพณีการแห่ผ้าห่มองค์พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม “แสงนวลจากจันทร์วันเพ็ญส่องสว่างค่ำคืนให้รื่นเริงไปพร้อมกับเทศกาลนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ประจำปี ผู้คนจากทั่วสารทิศร่วมบูชาพระบรมสารีริกธาตุด้วยเคารพศรัทธา เสริมสร้างสิริมงคลแก่ชีวิต แล้วร่วมแรงร่วมใจแห่ผ้าห่มองค์พระปฐมเจดีย์ อิ่มบุญแล้วยังได้สนุกครึกครื้นไปกับบรรยากาศงานวัด กิจกรรม การประกวด และการละเล่น จึงมากมายรอยยิ้ม ความสุขเช่นทุกๆ ปี”
ประเพณีตักบาตรดอกไม้ จังหวัดสระบุรี
ประเพณีตักบาตรดอกไม้ จังหวัดสระบุรี “น้อมนมัสการรอยพระพุทธบาท ร่วมทำบุญตักบาตรตามวิถีปฏิบัติ ในงานประเพณีตักบาตรดอกไม้ เนื่องในเทศกาลวันเข้าพรรษา ตลอดช่วงเช้าและช่วงบ่ายพระสงหลายร้อยรูป บิณฑบาตเหล่าดอกเข้าพรรษาสีเหลือง ขาว และน้ำเงินม่วง ซึ่งจะเบ่งบานในช่วงวันเข้าพรรษา ที่พุทธศาสนิกชนหลายหมื่นแสนต่างพร้อมใจนำมาถวายด้วยศรัทธาอันแรงกล้า เรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน” ดอกเข้าพรรษากำลังเบ่งบานอยู่รายรอบภูเขา บริเวณใกล้กับวัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร นับเป็นสัญญาณที่บอกให้ทราบว่าใกล้ถึงช่วงวันเข้าพรรษา แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ แล้ว ซึ่งนับว่าเป็นวาระมงคลที่พุทธศาสนิกชน จะมาพร้อมกันเพื่อถวายดอกเข้าพรรษาแก่พระภิกษุสงฆ์ เพื่อนำไปสักการะแด่พระเจดีย์จุฬามณี ตามความเชื่อดั้งเดิม
ประเพณีตรุษจีนปากน้ำโพ
ประเพณีตรุษจีนปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ “ภูเขาตั้งตระหง่านกลางเมือง แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน รวมเป็นเจ้าพระยาสายใหญ่พาดผ่าน ชุมชนภูมิศาสตร์ที่เหมาะสม ได้เกิดการรวมตัวของกลุ่มชาวจีนโพ้นทะเล ที่ตั้งรกราก ลงหลักพักอาศัย พร้อมนำวิถี วัฒนธรรม ประเพณีดั้งเดิมมาปฏิบัติ ชวนให้เข้าไปสู่ห้วงมนต์เสน่ห์สีสันแห่งงาน ตรุษจีนปากน้ำโพ” แหล่งชุมชนชาวจีนเก่าแก่ที่สานต่อวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมของบรรพบุรุษ ซึ่งยังคงเคารพนับถือ เจ้าพ่อเทพารักษ์ – เจ้าพ่อกวนอู – เจ้าแม่ทับทิม – เจ้าแม่สวรรค์ โดยตั้งศาลขึ้น ๒ ศาล คือ
ประเพณีทอดกฐิน
ประเพณีทอดกฐินจะทำในช่วงวันแรม ๑ ค่ำ เดือน เกี๋ยงเหนือหรือเดือนตุลาคม ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนยี่เหนือ หรือเดือนพฤศจิกายน สมัยโบราณชาวล้านนาไม่นิยมทอดกฐินเนื่องจากว่าจะต้องใช้ปัจจัย (เงิน) ค่อนข้างมาก ผู้ที่จะถวายกฐินได้จะต้องมีฐานะดีและมีความตั้งใจจริง
ประเพณีรับบัว
ประเพณีประเพณีรับบัวเป็นประเพณีเก่าแก่ของชาวอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ จัดขึ้นทุกวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ มูลเหตุของการเกิดประเพณีรับบัวก็เนื่องมาจากว่า แต่เดิมในอำเภอบางพลีจะมีประชากรอาศัยอยู่ ๓ กลุ่มคือ คนไทย คนรามัญ และคนลาว ต่อมาคนไทยทั้ง ๓ กลุ่ม ได้ตกลงกันว่าจะช่วยกันถากถางพงหญ้าให้เป็นพื้นที่ทำไร่ทำนา จนกระทั่งคนไทยทั้ง ๓ กลุ่มได้ถางหญ้ามาถึง ๓ แยก ทุกคนตกลงกันว่าจะแยกไปคนละทาง โดยคนลาวไปทางคลองสลุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น