วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ประเพณ้ภาคอีสาน



ประเพณีข้าวสาก
ประเพณีไทยภาคอีสาน

ประเพณีข้าวสาก

งานบุญข้าวสากหรือข้าวสลาก (สลากภัต) คือ การทำบุญอุทิศส่วนกุสลไปให้กับเปรต ซึ่งงานบุญข้าวสากกับงานบุญข้าวประดับดินในเดือน ๙ จะมีความคล้ายคลึงกัน นั่นคือ เป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับเปรตและผู้ล่วงลับไปแล้ว มูลเหตุของการเกิดงานบุญข้าวสาก สืบเนื่องมาจากในสมัยพุทธกาล มีชายหนุ่มผู้หนึ่งอาศัยอยู่กับมารดา ส่วนบิดาเสียชีวิตแล้ว เมื่อถึงวัยที่ต้องแต่งงาน มารดาจึงหาผู้หญิงมาให้ชายหนุ่มจึงแต่งงานกับหญิงสาวผู้นั้น แต่อยู่กันมานานก้ไม่มีบุตรสักที มารดาจึงหาภารยาให้ใหม่ พออยู่กินมาไม่นานภารยาน้อยก็ตั้งครรภ์ ภารยาหลวงเกิดอิจฉาจึงคิดวางแผนบอกกับภรรนาน้อยว่าถ้าตั้งครรภ์ภรรยาน้อยต้องบอกนางเป็นคนแรก เมื่อภรรยาน้อยตั้งครรภ์ นางจึงบอกกับภรรยาหลวง ภรรยาหลวงจึงนำยาที่ทำให้แท้งให้ภรรยาน้อยกิน พอภรรยาน้อยตั้งครรภ์ครั้งที่สองภรรยาหลวงก็นำยาแท้งให้กินอีกพอครั้งที่สามภรรยาน้อยไม่บอกภรรยาหลวงแต่หนีไปอาศัยอยู่กับญาติ ภรรยาหลวงจึงตามไปแล้วให้ยากินอีก แต่คราวนี้ไม่แท้งเพราะครรภ์แก่แล้ว แต่ลูกในท้องนอนขวางทำให้บีบหัวใจจนตาย ก่อนที่ภรรยาน้อยจะตายนางได้จองเวรกับภรรยาหลวงว่า ชาติหน้าของให้นางได้เกิดเป็นยักษิณีและให้ได้กินภรรยาหลวงและลูกของภรรยาหลวง

ประเพณีทอดกฐิน
ประเพณีไทยภาคเหนือ

ประเพณีทอดกฐิน

ประเพณีทอดกฐินจะทำในช่วงวันแรม ๑ ค่ำ เดือน เกี๋ยงเหนือหรือเดือนตุลาคม ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนยี่เหนือ หรือเดือนพฤศจิกายน สมัยโบราณชาวล้านนาไม่นิยมทอดกฐินเนื่องจากว่าจะต้องใช้ปัจจัย (เงิน) ค่อนข้างมาก ผู้ที่จะถวายกฐินได้จะต้องมีฐานะดีและมีความตั้งใจจริง

ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง
ประเพณีไทยภาคอีสาน

ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง

ประเพณีแห่ปราสาทผึ้งเป็นงานบุญของชาวอีสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดสกลนคร ปฏิบัติกันในช่วงออกพรรษา ระหว่างวันขึ้น ๑๒-๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ มูลเหตุของการทำปราสาทผึ้ง สืบเนื่องมาจากครั้งสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้เสด็จจำพรรษาบนสวรรค์ ครั้นถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ พระพุทธเจ้าจะเสด็จกลับยังโลกมนุษย์ พระอินทร์จึงนิรมิตบันได ๓ ชนิดขึ้นมา คือ ๑. บันได้แก้วมณี สำหรับพระพุทธเจ้าเสด็จลง ๒. บันไดทองคำ สำหรับเทวดาเสด็จลง ๓. บันไดเงิน สำหรับมหาพรหมเสด็จลง

ประเพณีบุญกฐิน
ประเพณีไทยภาคอีสาน

ประเพณีบุญกฐิน

งานประเพณีบุญกฐิน คือ งานบุญถวายผ้าไตรจีวรแด่พระสงฆ์ โดยเริ่มตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันที่ ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ มูลเหตุของการทำบุญกฐินสืบเนื่องมาจากว่า ในสมัยพุทธกาล ภิกษุเมืองปาฐาจำนวน ๓o รูป มีความประสงค์จะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดพระเชตวันมหาวิหาร แต่ขณะเดินทางนั้นได้ใกล้วันจำพรรษา ภิกษุเหล่านั้นจึงหยุดจำพรรษาอยู่ที่เมืองสาเกตก่อน ครั้นออกพรรษาภิกษุทั้ง ๓o รูป จึงรีบไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า แต่เนื่องจากระยะทางนั้นไกลและมีฝนตก จึงทำให้ผ้าสบงจีวรเปรอะเปื้อนโคลนเลน พระพุทธเจ้าทรงเห็นความลำบากของภิกษุ

ประเพณีบุญสงกรานต์
ประเพณีไทยภาคอีสาน

ประเพณีบุญสงกรานต์

ประเพณีบุญสงกรานต์ไทยหรือเทศกาลสงกรานต์ไทย ชาวอีสานจะเรียกว่า “สังขานต์” แปลว่า “สงกรานต์” ซึ่งเป็นคำที่มาจากภาษสันสกฤต แปลว่า ผ่านหรือเคลื่อนย้ายเข้าไป หมายถึงพระอาทิตย์ผ่านหรือเคลื่อนย้ายเข้าไปอีกในจักรราศีหนึ่ง เรียกว่า “สงกรานต์” มูลเหตุของการเกิดบุญสงกรานต์ เนื่องมาจากเรื่องเล่าที่ว่า มีเศรษฐีท่านหนึ่งเป็นผู้มีสมบัติมากแต่ไม่มีบุตร จึงถูกนักเลงสุราผู้อาศัยอยู่ใกล้บ้านและมีบุตร ๒ คน ซึ่งบุตรนั้นมีผิวพรรณผุดผ่องสวยงามเหมือนทอง กล่าวดูถูกว่า “ท่านเศรษฐีผู้มีสมบัติมากแต่ไม่มีบุตร” เมื่อท่านเศรษฐีได้ยินดังนั้นจึงโกรธมาก เศรษฐีจึงไปบวงสรวงกับพระอาทิตย์และพระจันทร์เพื่อขอบุตร แต่ขออยู่นานก็ไม่มีบุตรสักทีจึงได้ไปขอกับพระไทร พระไทรเห็นใจจึงไปบอกพระอินทร์ พระอินทร์จึงประทานลูกให้ ท่านเศรษฐีได้ตั้งชื่อให้ว่า “ธรรมบาลกุมาร” ธรรมบาลกุมารเป็นเด็กที่เฉลียวฉลาดมากจนสามารถเรียนจบวิชาการต่างๆ ได้ไม่ยาก รวมทั้งเข้าใจภาษานกได้ด้วย

ประเพณีไทยภาคอีสาน


ประเพณีไทยภาคอีสาน

ผีตาโขนประเพณีไทย จังหวัดเลย ประเพณีไทยที่น่าสนใจ
ประเพณีไทยภาคอีสาน

ผีตาโขนประเพณีไทย จังหวัดเลย ประเพณีไทยที่น่าสนใจ

ประวัติความเป็นมาของผีตาโขน       ประเพณีผีตาโขน เป็นประเพณีที่จัดขึ้นในอำเภอด่านซ้าย ของจังหวัดเลย ซึ่งมีพื้นที่อยู่ทางภาคอีสานของไทย ไม่มีข้อมูลชัดแจ้งว่ามีมาตั้งแต่เมื่อใด แต่มีข้อสันนิษฐว่าน่าจะมีตั้งแต่มี บุญหลวง คือบุญพระเวชสันดรและบุญบั้งไฟรวมกัน ซึ่งเป็นเวลานาน หลายร้อยปีมาแล้ว

ประเพณีไหลเรือไฟกับความเชื่อของภาคอีสาน
ประเพณีไทยภาคอีสาน

ประเพณีไหลเรือไฟกับความเชื่อของภาคอีสาน

ประวัติความเป็นมาของประเพณีไหลเรือไฟ ประเพณีไหลเรือไฟ เป็นประเพณีที่จัดขึ้นทั่วไปในหลายจังหวัดทางภาคอีสานที่อยู่ติดกับลำน้ำ โดยมีความเชื่อ ความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ที่สืบกันมาหลายชั่วอายุคน  แต่การเริ่มต้นครั้งแรกเมื่อใดนั้น ไม่มีหลักฐาน

ประเพณีแห่นางแมว ประวัติความเป็นมา ประเพณีแห่นางแมว
ประเพณีไทยภาคอีสาน

ประเพณีแห่นางแมว ประวัติความเป็นมา ประเพณีแห่นางแมว

เมื่อให้นึกถึงประเพณีที่มีสัตว์เข้ามาเกี่ยวข้อง มีมาช้านานและเป็นที่รู้จักของคนไทยทั่วประเทศคงเป็นประเพณีอื่นไปไม่ได้นอกจากประเพณีแห่นางแมว ที่นิยมจัดขึ้นในปีที่ฝนไม่ตกต้องตามฤดูการหรือฝนแล้ง เพื่ออ้อนวอนขอให้ฝนตกลงมาสร้างความชุ่มชื่นแก่แผ่นดินและพื้นที่ทำสวนทำไร่ของทุกคน ประวัติความเป็นมาและความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีแห่นางแมว

ประเพณีแห่เทียนพรรษาที่มา ประวัติ กิจกรรม ที่ต้องอ่าน!!
ประเพณีไทยภาคอีสาน

ประเพณีแห่เทียนพรรษาที่มา ประวัติ กิจกรรม ที่ต้องอ่าน!!

ประวัติความเป็นมาของการแห่เทียนพรรษา ในสมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิ์ประสงค์ ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการเมืองอุบล ครั้งหนึ่งที่เมืองอุบลมีการแห่บั้งไฟที่วัดกลาง มีประชาชนไปดูเป็นจำนวนมาก ครั้งนั้นในขบวนแห่บั้งไปได้เกิดมีการทะเลาะวิวาทและถึงแก่ความตาย เสด็จในกรมได้พิจารณาถึงความสูญเสียอันยิ่งใหญ่ จึงสั่งการให้เลิกแห่บั้งไฟและเปลี่ยนเป็นการแห่เทียนแทน แต่การแห่เทียนพรรษาในสมัยดั้งเดิมก็ไม่ได้จัดงานยิ่งใหญ่เช่นปัจจุบัน เป็นเพียงการที่ชาวบ้านร่วมกันบริจาคเทียน แล้วนำมาติดกับไม้ไผ่และนำต้นเทียนไปผูกติดกับปี๊บน้ำมันก๊าดอีกที ฐานของต้นเทียนทำจากไม้ที่ตีเป็นแผ่นเรียบ หรือทำสูงเป็นชั้นๆ ติดกระดาษแล้วนำไปถวายวัด ส่วนพาหนะที่นิยมใช้ในสมัยนั้นก็จะเป็นเกวียน หรือล้อเลื่อนที่ใช้วัวหรือคนลากจูง แต่ในขบวนแห่เทียนของชาวบ้านก็จะมีฆ้อง กลอง กรับ และการฟ้อนรำที่สนุกสนาน ต่อมาการทำต้นเทียนได้พัฒนาขึ้น เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2480  คือเป็นการหล่อเทียนออกจากแม่พิมพ์ที่มีลวดลายง่ายๆ หลายแบบ เช่น ตาอ้อย บัวคว่ำ กระจังก้ามปู

ประเพณีบุญเบิกฟ้า  จังหวัดมหาสารคาม
ประเพณีไทยภาคอีสาน

ประเพณีบุญเบิกฟ้า จังหวัดมหาสารคาม

ประเพณีบุญเบิกฟ้า  จังหวัดมหาสารคาม           “ประเพณีบุญเบิกฟ้า  ช่วงวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต  ชาวนาอีสานตอบแทนผืนแผ่นดินทำกิน  โดยการใช้ปุ๋ยคอกทำจากมูลสัตว์กลับคืนสู่ผืนดินให้มีความอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง  อีกทั้งสายฝนแรกของปีก็กำลังจะมา  ฟ้ากำลังจะร้อง  เมื่อมาทิศใดก็จะทำนายความอุดมสมบูรณ์ในปีนั้นๆ ไปตามความเชื่อดั้งเดิม” ชาวนาใช้ประโยชน์จากพื้นดินมายาวนาน  ตลอดระยะเวลาการเพาะปลูก  ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นดินได้สูญสลายไป  เมื่อถึงช่วงเก็บเกี่ยว  เมล็ดข้าวที่เติบโตจนได้สีทองล้วนเป็นสิ่งที่ธรรมชาติได้มอบให้  ซึ่งชาวนาต่างรู้และสำนึกในบุญคุณของผืนแผ่นดิน  ด้วยการคืนธาตุ  คืนอาหารเป็นการตอบแทน  อาการที่ว่าก็คือปุ๋ยนั่นเอง เดือน ๓ เดือนมหัศจรรย์ของชาวอีสาน  นอกจากเป็นเดือนที่อุดมสมบูรณ์แล้วยังเป็นเดือนเริ่มต้นฤดูฝน  ซึ่งจะมีเสียงฟ้าร้อง 

ประเพณีบุญบั้งไฟ  จังหวัดยโสธร
ประเพณีไทยภาคอีสาน

ประเพณีบุญบั้งไฟ จังหวัดยโสธร

ประเพณีบุญบั้งไฟ  จังหวัดยโสธร           “นิทานพื้นบ้านเล่าสืบต่อกันมา  ผาแดงนางไอ่  พระยาคันคาก  ล้วนกล่าวถึงการจุดบั้งไฟถวายแด่พญาแถน  เพื่อเป็นการขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล  หลาบสิบปีได้สืบทอดงานประเพณีบุญบั้งไฟ  ความสวยงามของการตกแต่งขบวนที่ยิ่งใหญ่  ควันสีขาวพุ่งทะยานไปตามบั้งไฟแสนที่ขึ้นสู่ท้องฟ้า  ตามมาด้วยเสียงดังสนั่น  และเสียงลุ้นของผู้คน  สุดเร้าได้ทุกครั้งไป” เมื่อถึงเดือน ๖ ชาวอีสานจะมีการจัดงานประเพณีที่สำคัญ  หนึ่งในฮีตสิบสอง  จากความเชื่อในการบูชาพญาแถนให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล  พร้อมเข้าสู่การทำนาครั้งใหม่  และกล่าวกันว่าหากหมู่บ้านใด  ชุมชนไหน  มิได้จัดงานประเพณีนี้ขึ้นในปีนั้นๆ  ฝนก็จะไม่ตก  พื้นดินก็จะแห้งแล้งไม่สามารถทำการเพาะปลูกใดๆ ได้ เมื่อถึงวันงาน  ก่อนการประกวดประชันบั้งไฟประเภทต่างๆ  จะมีขบวนแห่บั้งไฟตกแต่งด้วยสีสันที่สวยงาม  ตามมาด้วยเสียงดนตรีบรรเลงให้จังหวะในการเซิ้งบั้งไฟ 

ประเพณีบุญผะเหวด  จังหวัดร้อยเอ็ด
ไทยภาคอีสาน

ประเพณีบุญผะเหวด จังหวัดร้อยเอ็ด

ประเพณีบุญผะเหวด  จังหวัดร้อยเอ็ด           “ประเพณีบุญผะเหวด  หรืองานบุญเดือนสี่  ภาพจำลองเรื่องราวมหาชาติชาดก  ครั้งที่พระเวสสันดรกลับเข้าเมือง  ที่ยิ่งใหญ่ตระการตา  ของขบวนแห่ทั้ง ๑๓ กัณฑ์  ฟังเทศน์มหาชาติ  แห่กัณฑ์จอบ  กัณฑ์หลอน  แห่ข้าวพันก้อน  เทศน์สังกาด  บุญใหญ่ที่สร้างความสุขสนุกสนานแก่พุทธศาสนิกชนโดยทั่วกัน” จังหวัดร้อยเอ็ด  ได้เริ่มฟื้นฟูงานประเพณีบุญผะเหวดขึ้นมาในปี พ.ศ.๒๕๓๔  ซึ่งได้มีการกำหนดจัดงานในวันเสาร์และวันอาทิตย์แรกของเดือนมีนาคม ณ บึงผลาญชัย  และสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์  เริ่มตันวันศุกร์ด้วยการแห่พระอุปคุต  วันเสาร์  ขบวนแห่ ๑๓ กัณฑ์  และวันอาทิตย์ 

เทศกาลดอกลำดวน สืบสานประเพณี สี่เผ่าไท  จังหวัดศรีสะเกษ
ประเพณีไทยภาคอีสาน

เทศกาลดอกลำดวน สืบสานประเพณี สี่เผ่าไท จังหวัดศรีสะเกษ

“ร่วมเรียนรู้  เข้าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมอีสานใต้  ประเพณีสี่เผ่าไทศรีสะเกษและเทศกาลดอกลำดวน  สัมผัสเอกลักษณ์ของแต่ละชนเผ่า  ส่วย  ลาว  เยอ  และเขมร  วิถีชีวิต  ความเชื่อ  การแต่งกาย  ภายใต้ทิวไม้ที่สะพรั่งด้วยดอกลำดวนบานเต็มสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์” จากความร่วมมือของจังหวัดศรีสะเกษ  มูลนิธิสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์  การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย  และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ  ได้ทำให้งานเทศกาลดอกลำดวนบาน  สืบสานประเพณีสี่เผ่าไท  เป็นรูปเป็นร่างขึ้น  โดยใช้สถานที่บริเวณสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ในบริเวณวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ  เป็นสถานที่จัดงาน  ภายใต้ร่มเงาของต้นไม้ใหญ่ บรรยากาศภายในสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ศรีสะเกษ  ต้นไม้ใหญ่ปกคลุมสร้างความร่มรื่น  และเย็นใจให้แก่ผู้เข้าร่วมงาน  ท่ามกลางใบไม้เขียวประดับด้วยดอกลำดวนหน้าตาคล้ายกับขนมกลีบลำดวนที่เราคุ้นเคย  ยามเย็นสายลมอ่อนพัดพากลิ่นดอกลำดวนหอมแบบไทยๆ  ชวนนึกย้อนสู่วันวาน  นั่งชมการแสดงทางวัฒนธรรม  วิถีชีวิตของชนเผ่าไทศรีสะเกษ 

งานประเพณีตีช้างน้ำนอง มุกดาหาร
ประเพณีไทยภาคอีสาน

งานประเพณีตีช้างน้ำนอง มุกดาหาร

สายน้ำโขงสีขุ่นที่ไหลเรื่อย ช่วงเริ่มต้นแห่งฤดูฝน ระดับสูงขึ้นใกล้เต็มตะลิ่ง ใกล้เวลาที่ชาวบ้านสองฝั่งโขงจะมาร่วมใจ ลงแรก ช่วยลุ้น ผลัดกันส่งเสียงร้องให้กำลังใจเหล่าฝีมืพายจากที่ต่างๆ ที่มาพร้อมกันเพื่อช่วยชิงชัยจ้าวแห่งสายน้ำ ณ เมืองมุกดาหาร ซึ้งมีเอกลักษณ์ของพิธีการ ไม่เหมือนใครจนกลายเป็นประเพณีของไทยที่ปฎิบัติสืบต่อกันมาทุกครั้ง ก่อนที่จะเริ่มการแข่งขัน คือ ประเพณีการตีช้างน้ำนอง ในการแข่งขันประเพณีออกพรรษาไทย-ลาว (มุกดาหาร-สะหวั่นนะเขต) เริ่มต้นเอาฤกษ์เอาชัย ขบวนเรือที่เข้าแข่งขันต่างมารวมตัวพร้อมกัน ณ ท่าน้ำ ขบวนเรือพายเรือล่องตามลำน้ำโขง ทุกฝีพายต่างโห่ร้อง ตกลอง เคาะเกราะ เกิดเป็นจังหวะที่ขึงขัง เพื่อประกอบพิธีสักการะพระแม่คงคา เทวดา พญานาค บวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองทั้งทางบกและทางน้ำ

ประเพณีภาคใต้


ประเพณีชักพระ
ประเพณีไทยภาคใต้

ประเพณีชักพระ

ประเพณีชักพระหรือลากพระเป็นประเพณีของชาวภาคใต้ โดยจะปฏิบัติกันในช่วงออกพรรษา (วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑) ซึ่งมีความเชื่อว่า ครั้งสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้เสร็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพระมารดา พอถึงช่วงออกพรรษา พระพุทธเจ้าจะเสด็จกลับยังโลกมนุษย์ ทำให้ชาวบ้านมีความปราบปลื้มมาก จึงอันเชิญพระพุทธองค์ขึ้นประทับบนบุษบกและแห่ไปยังที่ประทับของพระพุทธองค์ ครั้นเลยสมัยพุทธกาลชาวบ้านจึงนำพระพุทธรูปมาแห่สมมุติแทนพระพุทธองค์ ประเพณีชักพระหรือลากพระมีผู้สันนิษฐานว่าเกิดขึ้นในประเทศอินเดียตามลัทธิของศาสนาพราหมณ์ที่นิยมนำเทวรูปออกแห่ในโอกาสต่างๆ ต่อมาชาวพุทธได้นำมาดัดแปลงให้ตรงกับศาสนาพุทธ ประเพณีชักพระหรือลากพระได้ถ่ายทอดมาถึงประเทศไทยภาคใต้ได้รับและนำไปปฏิบัติจนกลายเป็นประเพณีสืบมาจนถึงปัจจุบัน โดยชาวใต้มีความเชื่อว่าการลากพระจะทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลหรือเป็นการขอฝน เพราะผู้ประกอบพิธีส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม “การชักพระหรือลากพระของชาวใต้มี ๒ ประเภท คือ ลากพระทางบกกับลากพระทางน้ำ” การลากพระทางบก คือ การอันเชิญพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรขึ้นประดิษฐานบนนมพระ

ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ
ประเพณีไทยภาคใต้

ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ

ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ คือ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นโอบฐานเจดีย์พระบรมธาตุเมืองนคร จังหวัดนครศรีธรรมราช สมัยโบราณเรียกประเพณีนี้ว่า “ประเพณีแห่พระบฏขึ้นธาตุ” (ผ้าพระบฏ คือ ผ้าผืนยาวและใหญ่และมีการเขียนรูปพุทธประวัติลงบนฝืนผ้านั้น) มูลเหตุของการเกิดประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ ตามตำนานได้กล่าวไว้ว่า เมื่อราวปี พ.ศ. ๑๗๗๓ ได้มีชาวพุทธจากเมืองอินทปัตแห่งกัมพูชากลุ่มหนึ่งกำลังเดินทางไปเกาะลังกาเพื่อนำผ้าพระบฏไปบูชาพระเขี้ยวแก้ว แต่เกิดเหตุคลื่นซัดเรือแตกทำให้ผ้าพระบฏและชาวพุทธประมาณสิบคนลอยไปติดริมฝั่งที่อำเภอปากพนัง ครั้นพระเจ้าศรีธรรมโศกราช ผู้ปกครองเมืองนครศรีธรรมราชทราบข่าวจึงได้สั่งให้นำผ้าพระบฏนั้นไปห่มพระบรมธาตุเจดีย์ เนื่องในโอกาสสมโภชพระบรมธาตุและถือเป็นประเพณีแห่พระบฏขึ้นธาตุที่ผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราชทุกคนจะต้องปฏิบัติในทุกสมัย “ตามประวัติการแห่ผ้าขึ้นธาตุจะทำในโอกาสสมโภชพระบรมธาตุประจำปี แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่ากระทำในวันใด ครั้นถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุมีการปฏิบัติ ๒ วัน คือ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ

ประเพณีไทยภาคใต้


ประเพณีไทยภาคใต้

ประเพณีแข่งเรือหน้าพระที่นั่งและงานของดีเมืองนรา  จังหวัดนราธิวาส
ประเพณีไทยภาคใต้

ประเพณีแข่งเรือหน้าพระที่นั่งและงานของดีเมืองนรา จังหวัดนราธิวาส

ประเพณีแข่งเรือหน้าพระที่นั่ง  และงานของดีเมืองนรา  จังหวัดนราธิวาส “สีสันเรือกอและอันคงเอกลักษณ์  จากวิถีชีวิตชาวประมงนำสู่ประเพณีท้องถิ่น  เหล่าฝีพายนับสิบประจำในลำเรือ  จากนั้นจึงจ้ำพายสู่หลักชัย  ใครเร็วกว่าคือผู้ชนะ  เสียงปรบมือโห่ร้องส่งกำลังใจจากกองเชียร์ดังรอบ  ภาพบรรยากาศประเพณีแข่งเรือหน้าพระที่นั่ง  และงานของดีเมืองนรา  จึงเต็มไปด้วยสีสันเช่นความงามของลำเรือ” เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ  พระบรมวงศานุวงศ์  เสด็จแปรพระราชฐานมาประทับแรม ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์  ทรงเสด็จออกเยี่ยมราษฎร  เพื่อรับฟังปัญหาความทุกข์ร้อนของประชาชน  เป็นที่มาของโครงการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน  ช่วยให้ประชาชนได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข  ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ  ชาวนราธิวาสจึงได้นำเอาการแข่งขันเรือกอและประเพณีไทยอันเก่าแก่ถวายทอดพระเนตรเพื่อเทิดพระเกียรติในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้น  นำไปสู่การปฏิบัติตามประเพณีซึ่งเริ่มจางหายไปให้กลับมาดำรงอยู่อีกครั้ง ในฤดูน้ำหลาก  วิถีชีวิตของชาวประมงยังคงดำเนิน  ขณะที่อีกด้านถือเป็นโอกาสประชันความแข็งแกร่งของเหล่าฝีพายจากทั่วหมู่บ้าน 

ประเพณีแข่งขันตีโพน  จังหวัดพัทลุง
ประเพณีไทยภาคใต้

ประเพณีแข่งขันตีโพน จังหวัดพัทลุง

ประเพณีแข่งขันตีโพน  จังหวัดพัทลุง           “หลังประดิดประดอยโพนพร้อมสำหรับการประชันแล้ว  เสียงโพนจึงดังกึกก้อง  สร้างความครึกครื้น  รื่นเริง  ในงานประเพณีแข่งขันตีโพน  เครื่องดนตรีพื้นบ้านซึ่งอยู่คู่กับวิถีชีวิตของคนเมืองลุง  ด้วยเสียงอันทุ้มแหลมกังวาน  เกิดเป็นคำกล่าวที่ว่า  จะร้อยพันแม้นหมื่นเสียงตะโกน  ฤาจะสู้เสียงแข่งโพนที่เมืองลุง” โพน  ชื่อเรียกเครื่องดนตรีพื้นบ้านของชาวปักษ์ใต้  เกี่ยวพันกับวิถีชีวิตของคนในอดีต  ใช้บอกเหตุร้ายเวลากลางคืน  บ้างใช้สำหรับเรียกประชุมหมู่บ้าน  เป็นสัญญาณเมื่อถึงเวลาฉันอาหาร  รวมทั้งใช้เป็นจังหวะในงานประเพณีลากพระ  พัฒนาสู่ประเพณีการแข่งขันตีโพยด้วยในวันงานลากพระ  วัดในละแวกเดียวกันต่างจัดงานกันยิ่งใหญ่  เสียงโพนจึงดังกึกก้องจนไม่สามารถแยกได้ว่าเสียงนั้นดังมาจากวัดไหน  นำสู่การแข่งขันประชันเสียงโพน  โดยเฉพาะในจังหวัดพัทลุงจะมีการจัดงานขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ในทุกๆ ปี ประเพณีแข่งขันตีโพนจะเริ่มตั้งแต่ช่วงปลายเดือนสิบจนถึงวันแรมหนึ่งค่ำเดือนสิบเอ็ด  จัดควบคู่ไปกับประเพณีลากพระในวันออกพรรษา  ก่อนถึงวันแข่งขัน  เหล่านักตีโพนต่างขะมักเขม้นกับการประดิษฐ์เพื่อให้ได้โพนที่เสียงดีที่สุด 

การแข่งขันว่าวประเพณี  จังหวัดสตูล
ประเพณีไทยภาคใต้

การแข่งขันว่าวประเพณี จังหวัดสตูล

“ฤดูแห่งลมว่าวพัดมาถึงอีกครั้ง ท้องฟ้าจึงถูกประดับประดาด้วยว่าวนานาชาติ หนึ่งในนั้นคือว่าวควาย ด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านสู่เอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นของว่าวเมืองสตูล ประชันความงามล่องเวหาไปพร้อมๆ กันกับว่าวนานาชาติ เพียงเงยหน้ามองท้องฟ้าจนสุดสายป่าน คุณก็ไม่อาจละสายตา และเพลิดเพลินไปกับงานแข่งขันว่าวประเพณี ณ จังหวัดสตูล” ต้นข้าวขณะออกรวงเรียว ผ่านพ้นช่วงฝนตกหนักสู้ฤดูหนาวต้นปี รวงข้างเอนกระทบกันเสียงกระซิบของท้องทุ่ง ตามด้วยสายลมที่พัดผ่านมาเป็นสัญญาณเปลี่ยนฤดูกาล ขณะรอเก็บเกี่ยวผลผลิต เหล่านักประดิษฐ์ต่างนำว่าวตัวเก่งมาล่องลม ในช่วงเวลาดังกล่าวของทุกปีท้องฟ้าเมืองสตูลจึงเต็มไปด้วยว่าวหลากชนิดที่บรรดาเด็กๆ คนหนุ่มสาว ต่างออกลีลาวาดลวดลายประชันฝีมือในการบังคับว่าวอย่างรื่นเริง การเรียนรู้อยู่ร่วมกันตามวิถีของธรรมชาติ ทำให้การนำว่าวมาใช้ประโยชน์ในการสร้างความบันเทิงพัฒนารูปแบบเรื่อยมา ทั้งในประเทศไทยรวมทั้งว่าวจากนานาชาติ จนเริ่มมีการแข่งขัน คนต่างชาติ ต่างภาษา ต่างภูมิประเทศ จึงมีโอกาสพบเห็นว่าวรูปทรงแปลกและแตกต่างกัน นั่นรวมถึงว่าวควายที่เป็นเสมือนสัญลักษณ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นของสตูล

ประเพณีชักพระจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ประเพณีไทยภาคใต้

ประเพณีชักพระจังหวัดสุราษฎร์ธานี

“ด้วยจิตอันศรัทธายิ่งต่องานประเพณี เมื่อถึงวันชักพระ ชาวบ้านต่างร่วมกันทำบุญตักบาตร อันเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานบนบุษบกบนเรือพระ รถพระ ซึ่งตกแต่งอย่างงดงาม จากนั้นจึงออกแรงชักพระ เรือพระ ออกจากวัด สมโภชไปตามถนน ลำคลอง ผู้คนหนาตาด้วยจิตศรัทธาเป็นหนึ่งเดียวกัน” ตระเตรียม สลักเสลา ประดับประดิษฐ์ รถ เรือพนมพระ งดงามเมลืองมลัง ด้วยมวลหมู่ดอกไม้ ด้วยจิต ด้วยศรัทธา สมความยิ่งใหญ่ในประเพณีอันนับถือสู่สิริมงคล นับร้อย นับพัน ร่วมแรง ร่วมใจ แข็งขัน สามัคคี คนหนุ่มสาว ผู้เฒ่า

ประเพณีทอดกฐิน
ประเพณีไทยภาคใต้

ประเพณีทอดกฐิน

ประเพณีทอดกฐินจะทำในช่วงวันแรม ๑ ค่ำ เดือน เกี๋ยงเหนือหรือเดือนตุลาคม ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนยี่เหนือ หรือเดือนพฤศจิกายน สมัยโบราณชาวล้านนาไม่นิยมทอดกฐินเนื่องจากว่าจะต้องใช้ปัจจัย (เงิน) ค่อนข้างมาก ผู้ที่จะถวายกฐินได้จะต้องมีฐานะดีและมีความตั้งใจจริง

ประเพณีตักบาตรธูปเทียน
ประเพณีไทยภาคใต้

ประเพณีตักบาตรธูปเทียน

ประเพณีตักบาตรธูปเทียนคือการถวายธูปเทียนแด่พระสงฆ์ ซึ่งประเพณีตักบาตรธูปเทียนถือเป็นส่วนหนึ่งของการถวายสังฆทานในวันเข้าพรรษา ช่วงวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ซึ่งการตักบาตรธูปเทียนจะมีขึ้นที่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราชเพียงแห่งเดียว แต่ปรากฏว่าเครื่องสังฆทานที่ชาวบ้านนำมาถวายนั้นมากเกินความจำเป็น จึงได้อาราธนาพระสงฆ์จากวัดต่างๆ มารับเครื่องสังฆทานนั้น ประเพณีตักบาตรธูปเทียนมีพิธีกรรมโดย นิมนต์พระสงฆ์จากวัดอื่นๆ ยืนเรียงแถวที่หน้าวิหาร และชาวบ้านจะนำเครื่องสังฆทานพร้อมทั้งดอกไม้ธูปเทียนที่เตรียมมาใส่ในย่ามพระ เมื่อเสร็จแล้วชาวบ้านจะทำการจุดเปรียง (การจุดเปรียงคือ การนำน้ำมันมะพร้าวใส่ในเปลือกหอยพร้อมด้วยด้ายดิบและจุดไฟที่ด้ายเพื่อให้ไฟสว่างไสวไปทั่วทั้งวัด) ตามหน้าพระพุทธรูปและลานเจดีย์ภายในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร “แต่ปัจจุบันประเพณีตักบาตรธูปเทียนได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมบ้าง เช่น แต่เดิมชาวบ้านจะเตรียมดอกไม้ธูปเทียนมาเอง แต่ปัจจุบันดอกไม้ธูปเทียนจะมีวางขายทั่วไป หรือเมื่อก่อนพระสงฆ์จะเข้าแถวรับบาตรแต่เฉพาะบริเวณหน้าวิหาร แต่ในปัจจุบันได้ขยายพื้นที่ไปถึงหน้าวัด เมื่อครั้งอดีตหลังจากใส่บาตรเรียบร้อยแล้วจะมีการจุดเปรียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนมาจุดเทียนไขแทน เพราะการจุดเปรียงทำให้เกิดไปไหม้อยู่บ่อยครั้ง” เรามาอนุรักษณ์ประเพณีไทยไม่ให้สูญหายกันนะค่ะ